053 278 009

นานาสาระและแหล่งความรู้


การบริหารดวงตา นอกจากลดสายตาสั้น กันสายตายาว ไม่ต้องเปลี่ยนแว่นบ่อยๆแล้ว ยังช่วยลด และป้องกันอาการบกพร่องที่จอรับภาพได้อีกด้วย (อาการบกพร่องที่จอรับภาพ คือรู้สึกตามีแสงแปลบปลาบ หรือเห็นหิ่งห้อยวิ่งไปมา หรือเห็นเป็นแสงสว่างวงๆ วาบๆ บ่อยๆ อาการเหล่านี้หากปล่อยไว้ จอรับภาพอาจพิการ หรือถึงกับมองไม่เห็นได้) ทำสม่ำเสมอทุกๆ วันช่วยให้เลือดมาเลี้ยงจอรับภาพมากขึ้น อาการบกพร่องจะน้อยลง หรืออาจหายไปได้ ส่วนคนที่สายตาปกติดีอยู่แล้ว การบริหารนี้ก็ช่วยให้กล้ามเนื้อตาแข็งแรง นัยย์ตาสดใส

ท่าที่ 1 กลอกลูกตามองไปทางซ้ายสุด และมองมาทางขวาสุดเท่าที่จะทำได้ ทำ 10 ครั้ง

ท่าที่ 2 เหลือบลูกตาขึ้นมองเพดาน โดยวางหน้าตรง ไม่แหงน และเหลือบตาลงล่างสุดมองพื้น ทำขึ้นๆลงๆ 10 ครั้ง

ท่าที่ 3 เหลือบตามองขึ้นไปที่ปลายคิ้วซ้าย และลากเหลือบลงมาที่แก้มขวา ทำ 10 ครั้ง

ท่าที่ 4 เหลือบตามองขึ้นไปที่ปลายคิ้วขวา และลากตาเหลือบลงมาที่แก้มซ้าย

ท่าที่ 5 กลอกลูกตาหมุนไปเป็นวงกลมซ้าย-ขวา ทำข้างละ 10 ครั้ง

ท่าที่ 6 เป็นการเพ่งลูกตาเพื่อบริหารกล้ามเนื้อทั้ง 6 มัดพร้อมกัน โดยการนั่งบนเก้าอี้ วัดความสูงจากยอดศรีษะตนเอง ถึงก้นที่นั่งบนเก้าอี้ เช่น วัดได้ 70 ซ.ม. เอาความยาว 70 ซ.ม. วัดจากลูกตาไปที่กำแพงในท่านั่งเก้าอี้ แล้วจุดหรือทำศัญลักษณ์ไว้ที่กำแพงระดับเดียวกับลูกตาในขณะที่นั่งเก้าอี้นั้น จากนั้นค่อยๆเพ่งมองจุดหรือสัญลักษณ์นั้นห้ามกะพริบตา จนรู้สึกแสบตา น้ำตาเอ่อออกมาจึงค่อยกะพริบตา ทำหลายๆครั้ง จะรู้สึกว่าสายตามองชัดเจนขึ้น

ท่าที่ 7 หลับตาทั้งสองข้าง เอานิ้วชี้ทั้งสองข้างวางเหนือคิ้วแต่ละข้าง แล้วค่อยๆกดนวดคิ้วและรอบดวงตา เพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่อยู่รอบนอกของตา

ผลการศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่าการกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อดวงตา ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับตา หรืออย่างน้อยที่สุดก็ช่วยชะลอการเกิดโรค ดังกล่าวได้ มาดูวิธีปกป้องสมบัติเปล่งประกายที่มีค่าที่สุดคู่นี้กัน ตลอดจนวิธีตรวจสอบอาการผิดปกติของดวงตา รวมถึงการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้กับตาของคุณ

โรคจอประสาทตาเสื่อม

       ในโลกที่พัฒนาแล้วโรคจอประสาทตาเสื่อมเป็นสาเหตุที่ทำให้ตาบอด และยังไม่มีทางรักษา โดยความผิดปกติเกิดขึ้นที่ตรงกลางของเรตินา หรือจอประสาทตา (macular) เป็นสาเหตุให้สูญเสียการมองเห็นบริเวณส่วนกลางจอประสาทตาเสื่อมมี 2 ชนิด แบบแห้งและแบบเปียก คนที่เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมแบบแห้งพบมากที่สุดประมาณ 85-90% เกิดขึ้นเมื่อมีการสะสมของก้อนไขมันเล็ก ๆ ใต้จอประสาทตา ซึ่งทำให้สูญเสียการมองเห็นตรงบริเวณจุดกึ่งกลางของจอประสาทตา ส่วนจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก มีผลทำให้สูญเสียการมองเห็นรุนแรงมากกว่า สาเหตุเกิดจากเส้นเลือดใต้จอประสาทตาผิดปกติ มีเลือดและของเหลวไหลออกมา